การศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศชาติ ในอันที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังที่กระทรวงศึกษาธิการ (2544, หน้า 4) กล่าวไว้ว่า “...การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันภาครัฐบาลก็ได้พยายามมุ่งส่งเสริมการศึกษาให้ครอบคลุมกว้างขวางออกไปทั้งในรูปการจัดสรรงบประมาณ และบริการการศึกษาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในระบบการจัดการศึกษาแต่เดิมจะเป็นการจัดเพียงรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงคนพิการหรือบุคคลที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป ส่งผลให้คนพิการถูกละเลย และไม่ได้รับการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 พบว่า มีคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษาถึงร้อยละ 34.34 ในขณะที่คนพิการที่ได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษามีเพียงร้อยละ 5.6 และ 0.68 ตามลำดับเท่านั้น (แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3, 2550: 4)
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว คนพิการเองก็ถือเป็นทรัพยากรบุคคลของสังคม หากได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง ย่อมมีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพที่จะประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข รวมทั้งการช่วยสร้างสรรค์สังคมได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป (อนุ เหมือนอินทร์, 2550: 1) เพียงแต่การพัฒนาคนพิการ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และทำประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติได้เต็มศักยภาพนั้น ต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของคนพิการแต่ละวัย แต่ละประเภท และแต่ละบุคคล
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มุ่งเน้นโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยยึดหลักการศึกษาเพื่อปวงชนที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาเท่าเทียมกับบุคคลอื่น และมาตรา 54 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 วรรค 2 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่า การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายปีการศึกษาเพื่อคนพิการขึ้นโดยมีคำขวัญว่า "คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน" รวมทั้งได้มีการจัดระบบโครงสร้างการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ เพื่อขยายโอกาสให้กับคนพิการทุกกลุ่ม ทุกประเภท และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคนพิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการเรียนร่วมในทุกสังกัดและทุกระดับการศึกษาทั้งในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสนับสนุนให้คนพิการได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา
หลักการที่สำคัญ คือ หลักความเสมอภาคที่บุคคลผู้พิการพึงมี พึงได้รับซึ่งสิทธิและประโยชน์จากสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการนั้นยืนยันหลักการให้บูรณาการเด็กพิการเข้าสู้ระบบการศึกษาปกติ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็กด้านต่างๆ นอกจากสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา ปัจจัยเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานของการบรรลุถึงสองคมแห่งความเท่าเทียม ต้องเริ่มจากการปฏิบัติที่ไม่เลือกปฏิบัติ เพราะจะเป็นผลให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม (ศรีศักดิ์ ไทยอารี และคณะ, 2542 : 112)
ในปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มุ่งจัดในลักษณะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) ซึ่งหมายถึง การจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนในระบบการศึกษาเดียว โดยไม่แยกว่าเด็กพิการต้องไปเรียนในสถานศึกษาเฉพาะทาง รวมทั้งเด็กพิการต้องได้รับการสนับสนุนทุกด้าน ทั้งด้านการแพทย์ วิชาการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา โรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตร ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ เทคนิคการเรียนการสอน สถานที่ ฯลฯ รวมทั้งจัดบุคลากรสนับสนุน ทั้งนี้เพื่อให้เด็กพิการได้เรียนรวมในสถานศึกษาเดียวกัน (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2542)
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 มาตรา 8 ได้กำหนดให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียน การสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ และได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ของผู้พิการ โดยส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาที่มีนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ให้จัดทำระบบนำร่องงานDSS/AuSS (Disability Support Service/Autism Support Service) ภายในสถาบันโดยให้การสนับสนุนงบประมาณและอัตรากำลัง ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดหาและปรับปรุงเทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งจำเป็นต่าง ๆ และความช่วยเหลืออื่นใดที่เอื้อต่อการศึกษาของนักศึกษาพิการ เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หลักของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา คือ การสร้างโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้พิการ พัฒนาองค์ความรู้ และส่งเสริมการมีงานทำของผู้พิการสู่ทุกภาคส่วนของสังคม
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
Telos และ Arete คืออะไรหว่า?
ถ้านักปราชญ์กรีกอย่างเพลโต หรืออริสโตเติล เชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะไปถึงความสมบูรณ์แห่งตน หรือ telosได้ แล้วtelos ของแต่ละคนจะเหมือนกันหรือเปล่า แล้วอะไรที่เป็น arete ของตัวเรา เป็นไปได้หรือไม่ที่บางคนตลอดชีวิต ก็อาจจะไม่รู้ว่า arete ของตัวเองคืออะไร ความพึงพอใจ และการยึดติดในบางสิ่ง รวมทั้งความทุกข์ ความเศร้าที่เข้ามาในชีวิต จะเป็นตัวขัดขวางการไปสู่ telos และ arete ของเราหรือไม่
เมื่อมีปัญหาและความไม่สบายใจ ทางสายกลาง (means)ที่ควรกระทำอันสัมพันธ์ สอดคล้องกับตัวเรา คืออะไร แล้วในสายตาคนอื่นจะเห็นด้วย เข้าใจในการกระทำที่เราเชื่อว่าเป็นทางสายกลางของเราหรือเปล่า แล้วเราจะเอาสิ่งที่ไม่สบายใจออกไปจากความคิดได้ง่ายๆอย่างไร
โดยส่วนตัว ไม่ได้คิด ไม่ได้เชื่อในความเท่าเทียมของมนุษย์ แต่นักปราชญ์การเมืองอย่าง โทมัส ฮอบส์ จะมองว่า มนุษย์มีความเท่าเทียมในความปรารถนา อัตตา และเสมอหน้ากันในความตายไม่ว่าจะเป็นผู้แข็งแกร่งกว่าในทางกายภาพหรือไม่ก็ตาม หรือตัวเราเองก็เป็นไปในลักษณะเช่นนี้ มีความคาดหวัง ความปรารถนา และมีความรู้สึกว่า เราควรจะได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เรามีสิทธิ มีความสามารถพอจะได้สิ่งนั้นหรือไม่ก็ตาม และในบางสิ่งที่เราอยากได้ ก็เป็นสิทธิของบุคคลอื่นที่อาจจะมีฐานะ สถานภาพทางสังคมเหนือกว่าเรา และเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นว่า จะให้สิ่งนั้นๆแก่เราหรือไม่ เพราะในเรื่องเดียวกัน เราคิดเข้าข้างตัวเองว่า เราเหมาะ เราสมควรได้รับ แต่บุคคลอื่นนั้นกลับมองตรงข้ามกลับเรา แล้วเราจะกระทำอย่างไร...ต่อต้าน ประท้วง คัดค้าน หรื่อทำใจ
ในขณะที่เพลโตมองว่า คนที่เข้มแข็ง คือ ผู้ที่มีความเข้มแข็งกว่าทางจิต...ว่าแต่ต้องเป็นจิตแบบใดเล่า จิตที่รักในความรู้ จิตที่รักในเกียรติ หรือจิตที่รักในกามสุข ถ้าเป็นในลักษณะนี้ โดยทั่วไปและโดยส่วนมาก ย่อมต้องตอบว่า จิตที่รักในความรู้ย่อมสำคัญ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะปฏิเสธได้ยากว่า หลายคนก็ปรารถนาในเกียรติ ปรารถนาในกามสุขด้วยเช่นกัน และหากจะโยงกับเรื่องการกระทำดีที่เพลโตว่า เป็นสิ่งที่ในขณะกระทำก็มีความสุข และมีความสุขจากผลของการกระทำด้วย แต่หลายครั้งที่ในขณะกระทำเราก็ไม่ได้รู้สึกมีความสุขนัก อาทิ การออกกำลังกาย แต่ก็คาดหวังถึงสิ่งที่จะได้รับตามมา และในชีวิตของเรา บางสิ่งในขณะกระทำก้คงไม่ได้มีความสุขนัก และผลที่ได้รับตามมาก็ไม่ได้ให้สิ่งที่ดี หรือความรู้สึกที่ดีแก่ตัวเรา แต่กระนั้นก็ยังต้องกระทำต่อไปเพราะความจำเป็นและเหตุผลของแต่ละคนภายใต้พันธนาการจากสังคมหรือจากความคิดของตนเองที่ร้องรัดตัวตนของเราอยู่
หรือจะเป็นไปดังคำกล่าวของรุสโซที่ว่า มนุษย์นั้นเกิดมาเสรี แต่ทุกหนแห่งล้วนเต็มไปด้วยพันธนาการ...แล้วเราจะหลุดพ้นจากพันธนาการสังคมและพันธนาการแห่งจิตได้อย่างไร
ถ้า arete ของคน คือ คุณธรรม และจะบรรลุได้ เมื่ออยู่รวมกันเป็น association ตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน จนถึงระดับรัฐ แล้วคนที่ไม่มี association ล่ะ คนที่แยกตัวออกมาโดดเดี่ยว เป็นเพียงคนที่ต่ำกว่าสัตว์ หรือสูงเลิศเลอกว่าคนกระนั้นหรือ ทำไมพระพุทธองค์ต้องปลีกตัวออกจากแวดวง สังคมกษัตริย์ของพระองค์ เพื่อแสวงหาสัจธรรม ทำไมสังคมกษัตริย์ของพระพุทธองค์ ไม่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุคุณธรรมหรือ เป็นเพราะแต่ละ association เอง ก็มิได้จะสามารถเอื้อให้คนไปสู่ telos และ arete ได้ทุก association หรือทุกคน?
หากคำกล่าวของนักปราชญ์ต่างๆ เป็นสิ่งจริงแท้ และเป็นสากลแล้ว สิ่งที่จิตในขณะนี้ปรารถนา ก็คงหวังว่า ตัวตนของเราจะมีความเข้มแข็งทางจิต และมี association ที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากความลังเล สงสัย ความคลางแคลงใจ ความอิจฉาริษยา ความชั่วร้ายต่างๆทั้งที่แสดงออกและเก็บกักไว้ในจิตของตน ส่วนจะไปถึง telos และ arete หรือไม่นั้น ไม่ได้ใคร่หวังอะไรนัก ขอเพียงแต่รู้สึกสบายใจ และก้าวต่อไปได้อย่างไม่ยึดติดกับสิ่งที่ผิดหวังนั้น ก็เพียงพอแก่จิตขณะนี้แล้ว
หมายเหตุ : ประเด็นใดๆในข้อความข้างต้น หากมีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับนักปราชญ์นั้นๆ ขอให้รับรู้ไว้ว่า อาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น และอาจเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียน ซึ่งมิได้มีโอกาสไปถามไถ่กับนักปราชญ์เหล่านั้นว่า เป็นดังที่เขียนไว้หรือไม่ ส่วนผู้ใดเกิดความสงสัยขอจงไปสอบถามยังผู้รู้ท่านอื่นจักเกิดประโยชน์กว่าการมาถามไถ่ข้าพเจ้า ซึ่งมิได้มีความรู้ใดๆจะอธิบายได้ เพราะข้าพเจ้าคงตอบได้เพียง ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย
เมื่อมีปัญหาและความไม่สบายใจ ทางสายกลาง (means)ที่ควรกระทำอันสัมพันธ์ สอดคล้องกับตัวเรา คืออะไร แล้วในสายตาคนอื่นจะเห็นด้วย เข้าใจในการกระทำที่เราเชื่อว่าเป็นทางสายกลางของเราหรือเปล่า แล้วเราจะเอาสิ่งที่ไม่สบายใจออกไปจากความคิดได้ง่ายๆอย่างไร
โดยส่วนตัว ไม่ได้คิด ไม่ได้เชื่อในความเท่าเทียมของมนุษย์ แต่นักปราชญ์การเมืองอย่าง โทมัส ฮอบส์ จะมองว่า มนุษย์มีความเท่าเทียมในความปรารถนา อัตตา และเสมอหน้ากันในความตายไม่ว่าจะเป็นผู้แข็งแกร่งกว่าในทางกายภาพหรือไม่ก็ตาม หรือตัวเราเองก็เป็นไปในลักษณะเช่นนี้ มีความคาดหวัง ความปรารถนา และมีความรู้สึกว่า เราควรจะได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เรามีสิทธิ มีความสามารถพอจะได้สิ่งนั้นหรือไม่ก็ตาม และในบางสิ่งที่เราอยากได้ ก็เป็นสิทธิของบุคคลอื่นที่อาจจะมีฐานะ สถานภาพทางสังคมเหนือกว่าเรา และเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นว่า จะให้สิ่งนั้นๆแก่เราหรือไม่ เพราะในเรื่องเดียวกัน เราคิดเข้าข้างตัวเองว่า เราเหมาะ เราสมควรได้รับ แต่บุคคลอื่นนั้นกลับมองตรงข้ามกลับเรา แล้วเราจะกระทำอย่างไร...ต่อต้าน ประท้วง คัดค้าน หรื่อทำใจ
ในขณะที่เพลโตมองว่า คนที่เข้มแข็ง คือ ผู้ที่มีความเข้มแข็งกว่าทางจิต...ว่าแต่ต้องเป็นจิตแบบใดเล่า จิตที่รักในความรู้ จิตที่รักในเกียรติ หรือจิตที่รักในกามสุข ถ้าเป็นในลักษณะนี้ โดยทั่วไปและโดยส่วนมาก ย่อมต้องตอบว่า จิตที่รักในความรู้ย่อมสำคัญ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะปฏิเสธได้ยากว่า หลายคนก็ปรารถนาในเกียรติ ปรารถนาในกามสุขด้วยเช่นกัน และหากจะโยงกับเรื่องการกระทำดีที่เพลโตว่า เป็นสิ่งที่ในขณะกระทำก็มีความสุข และมีความสุขจากผลของการกระทำด้วย แต่หลายครั้งที่ในขณะกระทำเราก็ไม่ได้รู้สึกมีความสุขนัก อาทิ การออกกำลังกาย แต่ก็คาดหวังถึงสิ่งที่จะได้รับตามมา และในชีวิตของเรา บางสิ่งในขณะกระทำก้คงไม่ได้มีความสุขนัก และผลที่ได้รับตามมาก็ไม่ได้ให้สิ่งที่ดี หรือความรู้สึกที่ดีแก่ตัวเรา แต่กระนั้นก็ยังต้องกระทำต่อไปเพราะความจำเป็นและเหตุผลของแต่ละคนภายใต้พันธนาการจากสังคมหรือจากความคิดของตนเองที่ร้องรัดตัวตนของเราอยู่
หรือจะเป็นไปดังคำกล่าวของรุสโซที่ว่า มนุษย์นั้นเกิดมาเสรี แต่ทุกหนแห่งล้วนเต็มไปด้วยพันธนาการ...แล้วเราจะหลุดพ้นจากพันธนาการสังคมและพันธนาการแห่งจิตได้อย่างไร
ถ้า arete ของคน คือ คุณธรรม และจะบรรลุได้ เมื่ออยู่รวมกันเป็น association ตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน จนถึงระดับรัฐ แล้วคนที่ไม่มี association ล่ะ คนที่แยกตัวออกมาโดดเดี่ยว เป็นเพียงคนที่ต่ำกว่าสัตว์ หรือสูงเลิศเลอกว่าคนกระนั้นหรือ ทำไมพระพุทธองค์ต้องปลีกตัวออกจากแวดวง สังคมกษัตริย์ของพระองค์ เพื่อแสวงหาสัจธรรม ทำไมสังคมกษัตริย์ของพระพุทธองค์ ไม่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุคุณธรรมหรือ เป็นเพราะแต่ละ association เอง ก็มิได้จะสามารถเอื้อให้คนไปสู่ telos และ arete ได้ทุก association หรือทุกคน?
หากคำกล่าวของนักปราชญ์ต่างๆ เป็นสิ่งจริงแท้ และเป็นสากลแล้ว สิ่งที่จิตในขณะนี้ปรารถนา ก็คงหวังว่า ตัวตนของเราจะมีความเข้มแข็งทางจิต และมี association ที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากความลังเล สงสัย ความคลางแคลงใจ ความอิจฉาริษยา ความชั่วร้ายต่างๆทั้งที่แสดงออกและเก็บกักไว้ในจิตของตน ส่วนจะไปถึง telos และ arete หรือไม่นั้น ไม่ได้ใคร่หวังอะไรนัก ขอเพียงแต่รู้สึกสบายใจ และก้าวต่อไปได้อย่างไม่ยึดติดกับสิ่งที่ผิดหวังนั้น ก็เพียงพอแก่จิตขณะนี้แล้ว
หมายเหตุ : ประเด็นใดๆในข้อความข้างต้น หากมีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับนักปราชญ์นั้นๆ ขอให้รับรู้ไว้ว่า อาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น และอาจเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียน ซึ่งมิได้มีโอกาสไปถามไถ่กับนักปราชญ์เหล่านั้นว่า เป็นดังที่เขียนไว้หรือไม่ ส่วนผู้ใดเกิดความสงสัยขอจงไปสอบถามยังผู้รู้ท่านอื่นจักเกิดประโยชน์กว่าการมาถามไถ่ข้าพเจ้า ซึ่งมิได้มีความรู้ใดๆจะอธิบายได้ เพราะข้าพเจ้าคงตอบได้เพียง ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)