วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

การประชุมสัมมนาเรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานคณะของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง ระหว่างวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2550

การบรรยายเรื่อง “การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง” โดยนางปานจิต จินดากุล ผอ.กลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 2 สำนักงานก.พ.ร.

การเปลี่ยนแปลง คือ สภาวะธรรมชาติขององค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงรูปแบบ องค์ประกอบ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากเดิม และเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ การสร้างการมีส่วนร่วม การวางแผน การ บริหารจัดการ และความเป็นผู้นำ
โดยการบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นการเชื่อมโยงการเดินทางขององค์กรระหว่างจุดที่องค์กรดำรงอยู่ในปัจจุบัน (As-Is) และจุดมุ่งหมายปลายทางที่องค์กรต้องการจะไปถึง (To-be) เพื่อบริหารจัดการให้การเดินทางนั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และยังเป็นการติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการปรับทิศทางหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1. Change Sponsor หมายถึง ผู้กำหนดและตัดสินใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างไร เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบสูงต่อความสำเร็จ ควรเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ซึ่งควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
§ เป็นผู้ที่มีทักษะในการวางแผนที่ดีและมีความคิดเชิงกลยุทธ์
§ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ และมีความเป็นผู้นำสูง
§ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี โดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบสูงต่อ บุคลากรในองค์กร
§ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการที่จะชักจูงหรือโน้มน้าวใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

2. Change Advocate หมายถึง ผู้ที่ผลักดันและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสามารถสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในองค์การ มีทักษะในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหา โน้มน้าวจิตใจ จูงใจให้ผู้อื่นยอมรับ

3. Change Agent หมายถึง ผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง มีส่วนช่วยดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตลอดจนช่วยกำกับดูแลและติดตามให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น ดำเนินไปอย่างราบรื่นและได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดหวัง ทำหน้าที่สื่อสารปัญหาที่พบ จึงควรมีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับองค์กร กระบวนงาน
§ เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับองค์กรหรือหน่วยงาน เป็นอย่างดี เช่น เรื่องกระบวนการทำงาน และวัฒนธรรมการทำงาน เป็นต้น
§ เป็นผู้ที่คนส่วนใหญ่ในองค์กรให้ความเชื่อถือ
§ เป็นผู้ที่มีทักษะด้านการประสานสัมพันธ์และสามารถทำงานเป็นทีม
§ เป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสาร และการถ่ายทอดความรู้ สามารถชักจูงโน้มน้าวใจผู้อื่นได้
§ มีความสามารถในการวิเคราะห์และการมองภาพองค์รวมเป็นอย่างดี
§ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4. Change Target หมายถึง ผู้ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับการสื่อสารให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งผลกระทบต่างๆ มีการปรับทัศนคติ แนวคิด เพื่อให้เกิดความเต็มใจยินยอม กระตือรือร้นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง

ขั้นตอนของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1. การวางแผน
คือ การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะองค์กรในปัจจุบัน (As-is) ไปสู่สถานะที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังไว้ (To-be) ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง ลักษณะ เป็นอย่างไร เมื่อไหร่ รวมทั้งกิจกรรมและระยะเวลาของการปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กรเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และต้องกำหนดผลลัพธ์ที่พึงจะได้เป็นระยะๆ ที่จะวัดผลได้

2. การมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
เป็นหลักในองค์กรที่ร่วมมือและมุ่งมั่นในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และช่วยกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงชัดเจน สร้างความมั่นใจต่อผลสำเร็จในการไปสู่จุดหมายปลายทางเพื่อสร้างภาพใหม่ขององค์กร รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ ของ “ผู้นำ” และสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจและตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง

3. การปรับปรุงและการพัฒนา
การสร้างความพร้อม ทั้งในด้านศักยภาพและองค์ประกอบที่จำเป็นแก่บุคลากรและองค์กร เพื่อสนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ โดยมุ่งเน้นกลุ่มบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงให้สามารถปรับตัวและตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทักษะ ความรู้ การสนับสนุนเครื่องมือใหม่ๆ การปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อมในการทำงานใหม่ๆ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางใหม่ๆ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการกำหนดแรงจูงใจต่างๆ เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้บุคลากรเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน

4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง
หมายถึง การสร้างให้บุคลากรรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงทั้งในเบื้องต้นและระยะยาว การสร้างการเป็นส่วนหนึ่งการรู้สึกเป็นเจ้าของได้นั้นต้องอาศัยการรับรู้ รับทราบและการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น หรือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งใหม่ๆ จะเป็นแนวทางที่ผลักดันให้เกิดการยอมรับ

อย่างน้อย - Big Ass Ost. ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น

มีใครบางคนให้คำนิยาม ว่ารักคือความทุกข์ แตกต่างกับชั้นที่มองว่ารัก คือความสุข

*อาจจะเหนื่อยบางครั้ง อาจจะเจ็บบางที แต่ก็ยิ้มได้เรื่อยไป อาจจะต้องผิดหวัง ก็ไม่เป็นไร

**อย่างน้อย ชั้นเคยได้รัก..เธอ รักด้วยการไม่หวังอะไร ก็รู้ชั้นเองมันยังไม่ใช่ ไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น อย่างน้อยชั้นได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ ทุกนาทีที่ชั้นมีเธอ ว่ารักคือความสุขที่ยิ่งใหญ่ และมีความหมายมากมายจริงๆ

ความพยายามที่ทำเพื่อเธอ จะขอทำต่อไป แค่มีรอยยิ้มของเธอส่งมา ก็ชื่นใจ หากมีในวันพรุ่งนี้ เธอจะตอบตกลง คงจะคุ้มค่ามากมาย แต่ถ้าต้องผิดหวัง คงจะไม่เสียใจ

(**) (*,**)