การบรรยายเรื่อง “การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง” โดยนางปานจิต จินดากุล ผอ.กลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 2 สำนักงานก.พ.ร.
การเปลี่ยนแปลง คือ สภาวะธรรมชาติขององค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงรูปแบบ องค์ประกอบ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากเดิม และเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ การสร้างการมีส่วนร่วม การวางแผน การ บริหารจัดการ และความเป็นผู้นำ
โดยการบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นการเชื่อมโยงการเดินทางขององค์กรระหว่างจุดที่องค์กรดำรงอยู่ในปัจจุบัน (As-Is) และจุดมุ่งหมายปลายทางที่องค์กรต้องการจะไปถึง (To-be) เพื่อบริหารจัดการให้การเดินทางนั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และยังเป็นการติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการปรับทิศทางหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1. Change Sponsor หมายถึง ผู้กำหนดและตัดสินใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างไร เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบสูงต่อความสำเร็จ ควรเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ซึ่งควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
§ เป็นผู้ที่มีทักษะในการวางแผนที่ดีและมีความคิดเชิงกลยุทธ์
§ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ และมีความเป็นผู้นำสูง
§ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี โดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบสูงต่อ บุคลากรในองค์กร
§ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการที่จะชักจูงหรือโน้มน้าวใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2. Change Advocate หมายถึง ผู้ที่ผลักดันและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสามารถสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในองค์การ มีทักษะในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหา โน้มน้าวจิตใจ จูงใจให้ผู้อื่นยอมรับ
3. Change Agent หมายถึง ผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง มีส่วนช่วยดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตลอดจนช่วยกำกับดูแลและติดตามให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น ดำเนินไปอย่างราบรื่นและได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดหวัง ทำหน้าที่สื่อสารปัญหาที่พบ จึงควรมีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับองค์กร กระบวนงาน
§ เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับองค์กรหรือหน่วยงาน เป็นอย่างดี เช่น เรื่องกระบวนการทำงาน และวัฒนธรรมการทำงาน เป็นต้น
§ เป็นผู้ที่คนส่วนใหญ่ในองค์กรให้ความเชื่อถือ
§ เป็นผู้ที่มีทักษะด้านการประสานสัมพันธ์และสามารถทำงานเป็นทีม
§ เป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสาร และการถ่ายทอดความรู้ สามารถชักจูงโน้มน้าวใจผู้อื่นได้
§ มีความสามารถในการวิเคราะห์และการมองภาพองค์รวมเป็นอย่างดี
§ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4. Change Target หมายถึง ผู้ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับการสื่อสารให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งผลกระทบต่างๆ มีการปรับทัศนคติ แนวคิด เพื่อให้เกิดความเต็มใจยินยอม กระตือรือร้นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง
ขั้นตอนของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1. การวางแผน
คือ การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะองค์กรในปัจจุบัน (As-is) ไปสู่สถานะที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังไว้ (To-be) ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง ลักษณะ เป็นอย่างไร เมื่อไหร่ รวมทั้งกิจกรรมและระยะเวลาของการปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กรเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และต้องกำหนดผลลัพธ์ที่พึงจะได้เป็นระยะๆ ที่จะวัดผลได้
2. การมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
เป็นหลักในองค์กรที่ร่วมมือและมุ่งมั่นในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และช่วยกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงชัดเจน สร้างความมั่นใจต่อผลสำเร็จในการไปสู่จุดหมายปลายทางเพื่อสร้างภาพใหม่ขององค์กร รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ ของ “ผู้นำ” และสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจและตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง
3. การปรับปรุงและการพัฒนา
การสร้างความพร้อม ทั้งในด้านศักยภาพและองค์ประกอบที่จำเป็นแก่บุคลากรและองค์กร เพื่อสนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ โดยมุ่งเน้นกลุ่มบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงให้สามารถปรับตัวและตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทักษะ ความรู้ การสนับสนุนเครื่องมือใหม่ๆ การปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อมในการทำงานใหม่ๆ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางใหม่ๆ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการกำหนดแรงจูงใจต่างๆ เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้บุคลากรเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง
หมายถึง การสร้างให้บุคลากรรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงทั้งในเบื้องต้นและระยะยาว การสร้างการเป็นส่วนหนึ่งการรู้สึกเป็นเจ้าของได้นั้นต้องอาศัยการรับรู้ รับทราบและการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น หรือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งใหม่ๆ จะเป็นแนวทางที่ผลักดันให้เกิดการยอมรับ
2 ความคิดเห็น:
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะสู่ความเป็นเลิศ
โดย รศ.เทื้อน ทองแก้ว ที่ปรึกษาอธิการบดี ม.ราชภัฏสวนดุสิต
การพัฒนาคณะสู่ความเป็นเลิศนั้น ก่อนอืนจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า
(1) เป้าหมายของคณะคืออะไร
(2) จะขับเคลื่อนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย
(3) จะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมาย
(4) จะรักษาผลสำเร็จได้อย่างไร
(5) จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างไรจนเป็นเลิศ
บทบาทสำคัญของผู้บริหารระดับสูงที่จะทำให้องค์กรอยู่รอด
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างกัน
1. เป็นประธานในพิธี (Figurehead Role)
2. เป็นผู้นำ (Leader Role)
3. เป็นสื่อกลาง (Liaison Role)
(2) ด้านข้อมูล
1.รวบรวมข้อมูล (Monitor Role)
2.การแจกจ่ายข้อมูล (Disseminator Role)
3.การให้ข้อมูลหรือโฆษณา (Spoken Role)
(3)การตัดสินใจ
1.คิดริเริ่มกิจการ (Entrepreneur Role)
2.นักแก้ปัญหา (Disturbance – handle Role)
3.นักจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocator Role)
ยุทธวิธีให้ผู้บริหารระดับสูงประสบความสำเร็จ
1. รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับเจ้านาย
2. ทำตัวอย่างที่ดี
3. บอกความคาดหวัง / เป้าหมายให้ชัดเจน
4. ประชุมเพื่อสร้างทีมให้เข้มแข็งมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
5. ให้รางวัลคนทำงานดี
6. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. รู้จักชมคนเป็น
8. รับฟังกับทุกคน
9. เลือกบุคคลที่สามารถทำงานร่วมกัน
10. ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
11. ยอมรับความผิดพลาด
12. อย่าให้คำมั่นสัญญาอะไรง่าย ๆ
13. บริหารเวลาให้ดี
14. มอบหมายงานให้เหมาะกับคน
15. ยอมรับคุณค่าของแต่ละคน
16. แก้ไขความขัดแย้งโดยเร็ว
17. ให้ข้อมูลก่อนมอบงานให้ทำ
18. ปล่อยวาง
19. อย่าเป็นคนเครียด ร่าเริงกับลูกน้องบ้าง
test
แสดงความคิดเห็น