สรุป PA บทที่ 4 5 7
วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การติดตั้งโปรแกรม ATLAS.ti
กระบวนการติดตั้งโปรแกรม Atlas.ti มีลักษณะ และวิธีเหมือนกับการติดตั้งโปรแกรมทั่วๆ ไปในระบบปฏิบัติการวินโดว์ สำหรับความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้โปรแกรม Atlas.ti ได้ จะต้องมีระบบปฏิบัติการวินโดว์ในรุ่น 98se, ME, XP, Vista ขึ้นไป และมีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 256MB RAM
ทั้งนี้ผู้ต้องการใช้โปรแกรม Atlas.ti สามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้ (Demo) ได้ที่ www.atlasti.com ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้ โดยไม่จำกัดเวลา ไม่มีการหมดอายุใช้งาน แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถนำ primary documents เข้าสู่โครงงานได้ไม่เกิน 10 ไฟล์, กำหนดรหัส หรือ codes ได้ไม่เกิน 50 รหัส, quotations ไม่เกิน 100 ข้อความ, สร้างบันทึก (memos) ได้ไม่เกิน 30 บันทึก และสร้าง network view ได้ 10 network แม้จะมีข้อจำกัดดังกล่าว แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อการทำงานวิจัยทั่วไป
สำหรับผู้ที่ต้องการรุ่นสมบูรณ์ (ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 6.2) สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์ข้างต้น หรือที่บริษัท Scientific Software Development และทางเว็บของ Atlas.ti แจ้งว่า version7 จะวางจำหน่ายในวันที่ 4 มิถุนายน 2555 นี้ (ข้อมูลล่าสุด วันที่ 2 มิ.ย. 55)
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม
1. ดับเบิ้ลคลิ้กที่ ไอคอนสำหรับติดตั้งโปรแกรม Atlas.ti
2. จะปรากฏหน้าจอเพื่อเตรียมการติดตั้ง (ดังภาพ)
3. เมื่อปรากฏหน้าจอต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม ให้คลิ้กที่ Next
4. ในส่วนของหน้าจอ แสดงเงื่อนไขและสิทธิการใช้งานโปรแกรม ให้เลือกที่ I accept the terms… จากนั้นคลิ้กที่ Next
5. กรอกชื่อผู้ใช้ที่ช่อง User Name และชื่อหน่วยงานที่ช่อง Organization จากนั้นคลิ้ก Next
6. โปรแกรมจะแสดงสถานที่ (ไดร์ฟ) ที่จะติดตั้งตัวโปรแกรมลงไป ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงให้คลิ้กที่ Change และทำการเปลี่ยนแปลงตามต้องการ จากนั้นคลิ้กที่ Next
7. เลือกประเภทของการติดตั้ง โดย
7.1 Typical หมายถึง การติดตั้งตามค่ามาตรฐานของโปรแกรม
7.2 Complete หมายถึง การติดตั้งคุณสมบัติ และความสามารถทุกอย่างของโปรแกรม ซึ่งจะ
ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากที่สุด
7.3 Custom หมายถึง การเลือกติดตั้งคุณสมบัติ และความสามารถของโปรแกรมตามที่ผู้ใช้
กำหนดเอง
8. เมื่อทำการเลือกประเภทของการติดตั้งแล้วเสร็จ เมื่อคลิ้ก Next จะปรากฏหน้าต่างสรุปรายละเอียดของการติดตั้ง ซึ่งถ้าต้องการแก้ไข ให้คลิ้กที่ Back แต่ถ้าถูกต้องและไม่มีการเปลี่ยนแปลง ให้คลิ้กที่ Install จากนั้นโปรแกรม Atlas.ti จะถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ผู้ต้องการใช้โปรแกรม Atlas.ti สามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้ (Demo) ได้ที่ www.atlasti.com ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้ โดยไม่จำกัดเวลา ไม่มีการหมดอายุใช้งาน แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถนำ primary documents เข้าสู่โครงงานได้ไม่เกิน 10 ไฟล์, กำหนดรหัส หรือ codes ได้ไม่เกิน 50 รหัส, quotations ไม่เกิน 100 ข้อความ, สร้างบันทึก (memos) ได้ไม่เกิน 30 บันทึก และสร้าง network view ได้ 10 network แม้จะมีข้อจำกัดดังกล่าว แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อการทำงานวิจัยทั่วไป
สำหรับผู้ที่ต้องการรุ่นสมบูรณ์ (ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 6.2) สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์ข้างต้น หรือที่บริษัท Scientific Software Development และทางเว็บของ Atlas.ti แจ้งว่า version7 จะวางจำหน่ายในวันที่ 4 มิถุนายน 2555 นี้ (ข้อมูลล่าสุด วันที่ 2 มิ.ย. 55)
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม
1. ดับเบิ้ลคลิ้กที่ ไอคอนสำหรับติดตั้งโปรแกรม Atlas.ti
2. จะปรากฏหน้าจอเพื่อเตรียมการติดตั้ง (ดังภาพ)
3. เมื่อปรากฏหน้าจอต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม ให้คลิ้กที่ Next
4. ในส่วนของหน้าจอ แสดงเงื่อนไขและสิทธิการใช้งานโปรแกรม ให้เลือกที่ I accept the terms… จากนั้นคลิ้กที่ Next
5. กรอกชื่อผู้ใช้ที่ช่อง User Name และชื่อหน่วยงานที่ช่อง Organization จากนั้นคลิ้ก Next
6. โปรแกรมจะแสดงสถานที่ (ไดร์ฟ) ที่จะติดตั้งตัวโปรแกรมลงไป ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงให้คลิ้กที่ Change และทำการเปลี่ยนแปลงตามต้องการ จากนั้นคลิ้กที่ Next
7. เลือกประเภทของการติดตั้ง โดย
7.1 Typical หมายถึง การติดตั้งตามค่ามาตรฐานของโปรแกรม
7.2 Complete หมายถึง การติดตั้งคุณสมบัติ และความสามารถทุกอย่างของโปรแกรม ซึ่งจะ
ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากที่สุด
7.3 Custom หมายถึง การเลือกติดตั้งคุณสมบัติ และความสามารถของโปรแกรมตามที่ผู้ใช้
กำหนดเอง
8. เมื่อทำการเลือกประเภทของการติดตั้งแล้วเสร็จ เมื่อคลิ้ก Next จะปรากฏหน้าต่างสรุปรายละเอียดของการติดตั้ง ซึ่งถ้าต้องการแก้ไข ให้คลิ้กที่ Back แต่ถ้าถูกต้องและไม่มีการเปลี่ยนแปลง ให้คลิ้กที่ Install จากนั้นโปรแกรม Atlas.ti จะถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบสำคัญใน Atlas.ti
Hermeneutic Unit
Hermeneutic Unit เป็นหน่วยที่ใช้แทนโครงการวิจัย ซึ่งภายในหนึ่งโครงการวิจัยนั้นจะประกอบไปด้วยอ็อบเจ็กต์ย่อย ๆ หลายชนิด หากเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเขิงคุณภาพแบบเดิมนั้นจะเปรียบได้กับกล่องเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพทั้งหมดของโครงการวิจัย เช่น เอกสารโครงการวิจัย รูปภาพ เทปบันทึก รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมต่างๆ ที่ผู้ใช้สร้างไม่ว่าจะเป็น Quotation, Codes, Memos ซึ่งไฟล์โครงงาน HU นี้จะมีนามสกุล (.hpr)
Primary Documents (PD)
Primary Documents เป็นชื่อที่เรียกไฟล์ข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ในโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ Hermeneutic Unit สำหรับไฟล์ที่สามารถนำเข้ามาใช้ใน ATLAS/ti ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลแบบข้อความที่ลงท้ายด้วยนามสกุล .txt, .rtf, .doc รูปภาพที่ลงท้ายด้วยนามสกุล .bmp, jpg, jpeg, TIFF, png ฯลฯ หรือไฟล์เสียงที่ลงท้ายด้วยนามสกุล .wav, .mp3 เมื่อกำหนดว่าในไฟล์ข้อมูล HU จะประกอบด้วยไฟล์ PD อะไรบ้างแล้ว แต่ละไฟล์ PD จะมีหมายเลขลำดับกำกับไว้แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ ตัวอย่างเช่น “P1: สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน.txt” หมายถึง ไฟล์ที่กำหนดเป็นไฟล์ข้อมูลที่ 1 ในไฟล์ HU ชื่อว่า “ สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน.txt”
Quotations
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพส่วนใหญ่เป็นกระบวนการลงรหัส (Coding) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ข้อมูลถูกซอยย่อยออกเป็นส่วนๆ ที่มีความสำคัญ และนำมาตีความและทำความเข้าใจ เพื่อนำเอาข้อมูลที่ถูกแบ่งย่อยมาประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ตามการตีความของผู้วิจัย (Pandit. 1996; citing Staruss & Corbin. 1990: 57) ข้อมูลที่ถูกซอยออกเป็นส่วนย่อยนี้ ATLAS/ti จะแทนด้วยอ็อบเจ็กต์หรือหน่วยที่เรียกว่าQuotations ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ถ้าข้อมูลเป็นแบบข้อความ Quotations ก็เปรียบเหมือนข้อความสำคัญที่ขีดเส้นใต้หรือเน้นข้อความในเอกสารหรือหนังสือเป็นการสกัดเอาเฉพาะส่วนที่สำคัญที่มีความหมายต่อการตีความออกจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
Code
เมื่อผู้วิจัยทอนข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยเพื่อดึงเอามาใช้ตีความเฉพาะส่วนที่สำคัญแล้ว Code จะเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้จัดหมวดหมู่ข้อความสำคัญหรือ Quotations ว่า Quotations ใดบ้างควรจัดไว้ในกลุ่มเดียวกันด้วยการนำมาอ่านตีความและเปรียบเทียบ (Constant Comparison) Quotations ที่สะท้อนถึงแนวความคิดหรือมโนทัศน์เดียวกันก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วตั้งชื่อกำกับไว้ กลุ่มของ Quotations ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือสะท้อนถึงมโนทัศน์เดียวกันนี้ก็คือ Codes
ผู้ใช้สามารถสร้าง Codes ที่ไม่ผูกติดกับข้อความหรือรหัสใดๆ (Free Codes) หรือจะสร้าง Codes เชื่อมโยงกับ Quotations ซึ่งจะเปรียบเทียบได้กับกระบวนการลงรหัส หรือจะ นำ Codes ไปเชื่อมโยงกับ Memos หรือกับตัวมันเองเพื่อบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ
Memos
Memos คือ บันทึกที่ผู้วิจัยจดไว้ ซึ่งอาจจะจดไว้เพื่อกันลืม เพื่อใช้เป็นรายละเอียดอธิบายบางสิ่งบางอย่าง หรือเพื่อบันทึกความคิดที่ปรากฎขึ้นในขณะที่อ่านตีความข้อมูลแต่ยังไม่มีความชัดเจนพอที่จะลงรหัสให้เป็น Codes ได้ จึงทำการจดบันทึกไว้ก่อนเพื่อนำมาใช้พิจารณาในคราวต่อไป ใน ATLAS.ti ผู้ใช้สามารถสร้าง Memos ที่ไม่ผูกติดกับข้อความหรือรหัสใดใด (Free Memos) หรือจะสร้าง Memos เชื่อมโยงกับ Quotations หรือ Codes ก็ได้
Families
Families เป็นหน่วยที่ใช้แทนกลุ่มของ Primary Document, Codes และ Memos ประโยชน์ของการใช้งานก็คือ การจัดกลุ่มของอ็อบเจ็กต์ที่เป็นประเภทเดียวกัน เพื่อลดความซับซ้อนและเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ เช่น ถ้าโครงการวิจัยหนึ่งมีการสัมภาษณ์คนจำนวนมาก หมู่บ้านหนึ่งสัมภาษณ์ 10 คน รวมทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ก็จะมีผู้ถูกสัมภาษณ์ 100 คน เมื่อถอดเทปพิมพ์เป็นไฟล์ข้อความแล้วจะได้ทั้งหมด 100 ไฟล์ ดังนั้น Primary Document ที่แสดงไว้ในกรอบให้เลือกจะมีทั้งหมด 100 ชื่อ ซึ่งจะทำให้เวลาเลือกหรือหาชื่อนั้นต้องเสียเวลาพอสมควร ผู้วิจัยสามารถใช้ Families จัดกลุ่ม PD เฉพาะหมู่บ้านที่กำลังวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ ก็จะสะดวกและรวดเร็วขึ้น หรือผู้วิจัยอาจต้องการจัดกลุ่ม Codes ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มที่แสดงถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับสื่อมวลชน กลุ่มที่แสดงถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับสื่อบุคคล หรือในกรณี Memos ในกลุ่มที่เกี่ยวกับทฤษฎี (Theoretical Memos)ในกลุ่มที่เกี่ยวกับวิธีการ (Method Memos)
Networks
เป็นหน่วยที่ใช้แทนความสัมพันธ์ระหว่างอ็อบเจ็กต์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโครงการวิจัย (HU) ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการลงเป็นรหัสหรือ Codes ต่างๆ ซึ่งในโปรแกรม ATLAS/ti ผู้ใช้สามารถสร้างและเรียกดูความสัมพันธ์ รวมทั้งแก้ไขความสัมพันธ์ได้ โดยผ่านทาง Networks Views ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำเอา Primary Document, Quotations, Codes และ Memos เข้ามาวาดเป็นแผนภาพความสัมพันธ์ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรได้ สิ่งที่นำเข้ามาเพื่อจะวาดแผนผังนั้นเรียกว่า Nodes และความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละ Nodes เรียกว่า Relations
Hermeneutic Unit เป็นหน่วยที่ใช้แทนโครงการวิจัย ซึ่งภายในหนึ่งโครงการวิจัยนั้นจะประกอบไปด้วยอ็อบเจ็กต์ย่อย ๆ หลายชนิด หากเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเขิงคุณภาพแบบเดิมนั้นจะเปรียบได้กับกล่องเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพทั้งหมดของโครงการวิจัย เช่น เอกสารโครงการวิจัย รูปภาพ เทปบันทึก รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมต่างๆ ที่ผู้ใช้สร้างไม่ว่าจะเป็น Quotation, Codes, Memos ซึ่งไฟล์โครงงาน HU นี้จะมีนามสกุล (.hpr)
Primary Documents (PD)
Primary Documents เป็นชื่อที่เรียกไฟล์ข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ในโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ Hermeneutic Unit สำหรับไฟล์ที่สามารถนำเข้ามาใช้ใน ATLAS/ti ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลแบบข้อความที่ลงท้ายด้วยนามสกุล .txt, .rtf, .doc รูปภาพที่ลงท้ายด้วยนามสกุล .bmp, jpg, jpeg, TIFF, png ฯลฯ หรือไฟล์เสียงที่ลงท้ายด้วยนามสกุล .wav, .mp3 เมื่อกำหนดว่าในไฟล์ข้อมูล HU จะประกอบด้วยไฟล์ PD อะไรบ้างแล้ว แต่ละไฟล์ PD จะมีหมายเลขลำดับกำกับไว้แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ ตัวอย่างเช่น “P1: สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน.txt” หมายถึง ไฟล์ที่กำหนดเป็นไฟล์ข้อมูลที่ 1 ในไฟล์ HU ชื่อว่า “ สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน.txt”
Quotations
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพส่วนใหญ่เป็นกระบวนการลงรหัส (Coding) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ข้อมูลถูกซอยย่อยออกเป็นส่วนๆ ที่มีความสำคัญ และนำมาตีความและทำความเข้าใจ เพื่อนำเอาข้อมูลที่ถูกแบ่งย่อยมาประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ตามการตีความของผู้วิจัย (Pandit. 1996; citing Staruss & Corbin. 1990: 57) ข้อมูลที่ถูกซอยออกเป็นส่วนย่อยนี้ ATLAS/ti จะแทนด้วยอ็อบเจ็กต์หรือหน่วยที่เรียกว่าQuotations ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ถ้าข้อมูลเป็นแบบข้อความ Quotations ก็เปรียบเหมือนข้อความสำคัญที่ขีดเส้นใต้หรือเน้นข้อความในเอกสารหรือหนังสือเป็นการสกัดเอาเฉพาะส่วนที่สำคัญที่มีความหมายต่อการตีความออกจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
Code
เมื่อผู้วิจัยทอนข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยเพื่อดึงเอามาใช้ตีความเฉพาะส่วนที่สำคัญแล้ว Code จะเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้จัดหมวดหมู่ข้อความสำคัญหรือ Quotations ว่า Quotations ใดบ้างควรจัดไว้ในกลุ่มเดียวกันด้วยการนำมาอ่านตีความและเปรียบเทียบ (Constant Comparison) Quotations ที่สะท้อนถึงแนวความคิดหรือมโนทัศน์เดียวกันก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วตั้งชื่อกำกับไว้ กลุ่มของ Quotations ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือสะท้อนถึงมโนทัศน์เดียวกันนี้ก็คือ Codes
ผู้ใช้สามารถสร้าง Codes ที่ไม่ผูกติดกับข้อความหรือรหัสใดๆ (Free Codes) หรือจะสร้าง Codes เชื่อมโยงกับ Quotations ซึ่งจะเปรียบเทียบได้กับกระบวนการลงรหัส หรือจะ นำ Codes ไปเชื่อมโยงกับ Memos หรือกับตัวมันเองเพื่อบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ
Memos
Memos คือ บันทึกที่ผู้วิจัยจดไว้ ซึ่งอาจจะจดไว้เพื่อกันลืม เพื่อใช้เป็นรายละเอียดอธิบายบางสิ่งบางอย่าง หรือเพื่อบันทึกความคิดที่ปรากฎขึ้นในขณะที่อ่านตีความข้อมูลแต่ยังไม่มีความชัดเจนพอที่จะลงรหัสให้เป็น Codes ได้ จึงทำการจดบันทึกไว้ก่อนเพื่อนำมาใช้พิจารณาในคราวต่อไป ใน ATLAS.ti ผู้ใช้สามารถสร้าง Memos ที่ไม่ผูกติดกับข้อความหรือรหัสใดใด (Free Memos) หรือจะสร้าง Memos เชื่อมโยงกับ Quotations หรือ Codes ก็ได้
Families
Families เป็นหน่วยที่ใช้แทนกลุ่มของ Primary Document, Codes และ Memos ประโยชน์ของการใช้งานก็คือ การจัดกลุ่มของอ็อบเจ็กต์ที่เป็นประเภทเดียวกัน เพื่อลดความซับซ้อนและเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ เช่น ถ้าโครงการวิจัยหนึ่งมีการสัมภาษณ์คนจำนวนมาก หมู่บ้านหนึ่งสัมภาษณ์ 10 คน รวมทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ก็จะมีผู้ถูกสัมภาษณ์ 100 คน เมื่อถอดเทปพิมพ์เป็นไฟล์ข้อความแล้วจะได้ทั้งหมด 100 ไฟล์ ดังนั้น Primary Document ที่แสดงไว้ในกรอบให้เลือกจะมีทั้งหมด 100 ชื่อ ซึ่งจะทำให้เวลาเลือกหรือหาชื่อนั้นต้องเสียเวลาพอสมควร ผู้วิจัยสามารถใช้ Families จัดกลุ่ม PD เฉพาะหมู่บ้านที่กำลังวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ ก็จะสะดวกและรวดเร็วขึ้น หรือผู้วิจัยอาจต้องการจัดกลุ่ม Codes ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มที่แสดงถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับสื่อมวลชน กลุ่มที่แสดงถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับสื่อบุคคล หรือในกรณี Memos ในกลุ่มที่เกี่ยวกับทฤษฎี (Theoretical Memos)ในกลุ่มที่เกี่ยวกับวิธีการ (Method Memos)
Networks
เป็นหน่วยที่ใช้แทนความสัมพันธ์ระหว่างอ็อบเจ็กต์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโครงการวิจัย (HU) ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการลงเป็นรหัสหรือ Codes ต่างๆ ซึ่งในโปรแกรม ATLAS/ti ผู้ใช้สามารถสร้างและเรียกดูความสัมพันธ์ รวมทั้งแก้ไขความสัมพันธ์ได้ โดยผ่านทาง Networks Views ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำเอา Primary Document, Quotations, Codes และ Memos เข้ามาวาดเป็นแผนภาพความสัมพันธ์ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรได้ สิ่งที่นำเข้ามาเพื่อจะวาดแผนผังนั้นเรียกว่า Nodes และความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละ Nodes เรียกว่า Relations
การใช้งานโปรแกรม ATLAS.ti เบื้องต้น
เรียบเรียงจาก
Susanne Friese. User's Manual for ATLAS.ti 5.0 (Quick Tour), Revised Edition. Berlin, 2008.
ATLAS.ti 6 The New Features. Scientific Software Development GmbH, Berlin, September 2008.
คำชี้แจง
ความคิดที่จะแปล และเรียบเรียงเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม ATLAS.ti เบื้องต้นนี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในทางสังคมศาสตร์ ที่มีศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช และศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์เป็นผู้สอน และในรายวิชาดังกล่าวนี้ มีหัวข้อเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยได้มีการเชิญ ดร. ชูชาติ พ่วงสมจิตร์จากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาเป็นผู้บรรยายและให้ความรู้ แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ เพียงประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักโปรแกรมตัวนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และเป็นประโยชน์แก่ทุกคนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่คิดจะแปลงานชิ้นนี้ขึ้นมาก็คือ ความล้มเหลวในการหาคู่มือการใช้งาน ATLAS.ti ที่เป็นภาษาไทยจากอินเทอร์เน็ต แต่สิ่งที่ค้นได้จากสื่อออนไลน์นี้ ไม่ว่าจะเป็น powerpoint เกี่ยวกับ ATLAS.ti ของอาจารย์ท่านต่างๆ ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ไม่มีความรู้อย่างข้าพเจ้า และบางส่วนของงานเหล่านี้ ทั้งที่เป็นข้อความ และภาพประกอบก็ถูกข้าพเจ้านำมาใช้ในงานเรียบเรียงชิ้นนี้ ซึ่งการอ้างอิงอาจจะยังไม่ครบถ้วน และถูกต้องตามหลักวิชาการมากนัก ดังนั้น จึงต้องกราบขออภัยอาจารย์ทุกๆท่านที่เป็นเจ้าของงานและภาพต่างๆ ไว้ ณ ที่นี้ และหากมีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม ข้าพเจ้าก็ยินดีจะแก้ไขตามคำแนะนำต่อไป
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตั้งใจนี้ ยืนยันได้ว่า ไม่เคยมีความคิดในเชิงพาณิชย์แม้แต่น้อย หากแต่เป็นการตอบสนองความดึงดัน และตัณหาที่อยากจะแปลสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะเอากลับไปไว้ในสื่อออนไลน์อีกครั้ง เพื่อแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าอ่อนแอมาก กอปรกับความไม่คุ้นเคยกับการใช้งานโปรแกรมนี้มาก่อน เชื่อได้ว่ามีความผิดพลาดมากมายในงานชิ้นนี้ ดังนั้น การนำไปเผยแพร่ ก็หวังไว้ว่า จะมีผู้รู้ได้เข้ามาช่วยแก้ไข ปรับปรุง เพื่อบุคคลที่นำไปใช้จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และด้วยความคิดของข้าพเจ้าที่ว่า ถ้าใครรู้ว่าส่วนนี้ผิด ก็แสดงว่า เขาย่อมรู้ว่า สิ่งที่ถูกคืออะไร อย่างน้อยความผิดพลาดนี้ ก็จะถูกบอกออกไป และจะได้ไม่มีผู้ผิดพลาดซ้ำรอยข้าพเจ้าอีก ก็เท่านี้จริงๆ
Patoo in the mist
ATLAS/ti เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Computer Assisted Qualitative Data Analysis Software/ CAQDAS) ที่สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความตัวอักษร (Text) ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ (Graphic) ข้อมูลที่อยู่ในรูปเสียง (Sound) รวมทั้งข้อมูลที่เป็นวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว สามารถช่วยในการสร้างและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างรหัส (codes) ต่างๆ ผ่านทาง Network view สามารถใส่ข้อความให้กับตัวเลือกสำหรับการบันทึก (Memoing) การตั้งข้อสังเกต (Commenting)และการบันทึกสรุป (Memos) อีกทั้งยังสามารถใช้งานกับภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ โดยสามารถประมวลผลข้อมูลและเอกสารที่เป็นภาษาไทย และสามารถตั้งชื่อรหัส (Codes) เป็นภาษาไทยความยาวท่าไรก็ได้
Susanne Friese. User's Manual for ATLAS.ti 5.0 (Quick Tour), Revised Edition. Berlin, 2008.
ATLAS.ti 6 The New Features. Scientific Software Development GmbH, Berlin, September 2008.
คำชี้แจง
ความคิดที่จะแปล และเรียบเรียงเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม ATLAS.ti เบื้องต้นนี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในทางสังคมศาสตร์ ที่มีศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช และศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์เป็นผู้สอน และในรายวิชาดังกล่าวนี้ มีหัวข้อเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยได้มีการเชิญ ดร. ชูชาติ พ่วงสมจิตร์จากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาเป็นผู้บรรยายและให้ความรู้ แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ เพียงประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักโปรแกรมตัวนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และเป็นประโยชน์แก่ทุกคนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่คิดจะแปลงานชิ้นนี้ขึ้นมาก็คือ ความล้มเหลวในการหาคู่มือการใช้งาน ATLAS.ti ที่เป็นภาษาไทยจากอินเทอร์เน็ต แต่สิ่งที่ค้นได้จากสื่อออนไลน์นี้ ไม่ว่าจะเป็น powerpoint เกี่ยวกับ ATLAS.ti ของอาจารย์ท่านต่างๆ ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ไม่มีความรู้อย่างข้าพเจ้า และบางส่วนของงานเหล่านี้ ทั้งที่เป็นข้อความ และภาพประกอบก็ถูกข้าพเจ้านำมาใช้ในงานเรียบเรียงชิ้นนี้ ซึ่งการอ้างอิงอาจจะยังไม่ครบถ้วน และถูกต้องตามหลักวิชาการมากนัก ดังนั้น จึงต้องกราบขออภัยอาจารย์ทุกๆท่านที่เป็นเจ้าของงานและภาพต่างๆ ไว้ ณ ที่นี้ และหากมีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม ข้าพเจ้าก็ยินดีจะแก้ไขตามคำแนะนำต่อไป
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตั้งใจนี้ ยืนยันได้ว่า ไม่เคยมีความคิดในเชิงพาณิชย์แม้แต่น้อย หากแต่เป็นการตอบสนองความดึงดัน และตัณหาที่อยากจะแปลสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะเอากลับไปไว้ในสื่อออนไลน์อีกครั้ง เพื่อแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าอ่อนแอมาก กอปรกับความไม่คุ้นเคยกับการใช้งานโปรแกรมนี้มาก่อน เชื่อได้ว่ามีความผิดพลาดมากมายในงานชิ้นนี้ ดังนั้น การนำไปเผยแพร่ ก็หวังไว้ว่า จะมีผู้รู้ได้เข้ามาช่วยแก้ไข ปรับปรุง เพื่อบุคคลที่นำไปใช้จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และด้วยความคิดของข้าพเจ้าที่ว่า ถ้าใครรู้ว่าส่วนนี้ผิด ก็แสดงว่า เขาย่อมรู้ว่า สิ่งที่ถูกคืออะไร อย่างน้อยความผิดพลาดนี้ ก็จะถูกบอกออกไป และจะได้ไม่มีผู้ผิดพลาดซ้ำรอยข้าพเจ้าอีก ก็เท่านี้จริงๆ
Patoo in the mist
โปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ATLAS/ti “Archiv fuer Technik, Lebenswelt und Alltagssprache“
ATLAS/ti เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Computer Assisted Qualitative Data Analysis Software/ CAQDAS) ที่สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความตัวอักษร (Text) ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ (Graphic) ข้อมูลที่อยู่ในรูปเสียง (Sound) รวมทั้งข้อมูลที่เป็นวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว สามารถช่วยในการสร้างและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างรหัส (codes) ต่างๆ ผ่านทาง Network view สามารถใส่ข้อความให้กับตัวเลือกสำหรับการบันทึก (Memoing) การตั้งข้อสังเกต (Commenting)และการบันทึกสรุป (Memos) อีกทั้งยังสามารถใช้งานกับภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ โดยสามารถประมวลผลข้อมูลและเอกสารที่เป็นภาษาไทย และสามารถตั้งชื่อรหัส (Codes) เป็นภาษาไทยความยาวท่าไรก็ได้
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจะช่วยลดเวลาและทุนแรงนักวิจัยอย่างมาก ช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากให้อยู่ในรูปที่ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องเน้นย้ำไว้และทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเบื้องต้นก็คือว่า ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คอมพิวเตอร์ที่นำมาไม่ใช่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แต่นำมาเพื่อ ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ไม่สามารถวิเคราะห์และตีความหมายของข้อความตัวอักษรแทนผู้วิจัยได้ ผู้วิจัยยังคงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล[1]
ซึ่งสอดคล้องกับสมโภชน์ อเนกสุข ที่เห็นว่าการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จะต่างกับวิธีการเชิงปริมาณ เพราะโปรแกรมเป็นเพียงสิ่งที่ช่วยให้นักวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกขึ้น แต่การสร้างข้อสรุปที่เป็นคำตอบของปัญหาการวิจัยจะมีคุณค่าเพียงใดขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูลที่ได้รับ ประกอบเข้ากับความรู้ความสามารถและความลึกซึ้งในประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น[2]
ระดับของการใช้งานโปรแกรม ATLAS/ti
ลักษณะการใช้โปรแกรม ATLAS/ti แบ่งได้เป็น 3 ระดับใหญ่คือ
1. การใช้งานระดับข้อความ (Textual Level Work ) เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อความเป็นส่วนใหญ่ โดยการนำข้อมูลที่อาจเป็นข้อความ รูปภาพ เสียงมาแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ (Text Segments) ที่มีความสำคัญ และนำมาจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ ตีความ และทำความเข้าใจ ซึ่งก็คือกระบวนการลงรหัส (Code and Text Retrieve) การพิมพ์ผลการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้เขียนรายงานผลการวิจัย การทำงานในระดับนี้ก็คือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Microanalysis เป็นการวิเคราะห์ที่อ่านและตีความหมายข้อความบรรทัดต่อบรรทัด เพื่อสร้างรหัสหรือมโนทัศน์เบื้องต้นจากข้อมูล ซึ่งเปรียบได้กับกระบวนการลงรหัสแบบ Open Coding ในการวิจัยทฤษฎีฐานราก[3]
ลักษณะการใช้โปรแกรม ATLAS/ti แบ่งได้เป็น 3 ระดับใหญ่คือ
1. การใช้งานระดับข้อความ (Textual Level Work ) เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อความเป็นส่วนใหญ่ โดยการนำข้อมูลที่อาจเป็นข้อความ รูปภาพ เสียงมาแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ (Text Segments) ที่มีความสำคัญ และนำมาจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ ตีความ และทำความเข้าใจ ซึ่งก็คือกระบวนการลงรหัส (Code and Text Retrieve) การพิมพ์ผลการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้เขียนรายงานผลการวิจัย การทำงานในระดับนี้ก็คือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Microanalysis เป็นการวิเคราะห์ที่อ่านและตีความหมายข้อความบรรทัดต่อบรรทัด เพื่อสร้างรหัสหรือมโนทัศน์เบื้องต้นจากข้อมูล ซึ่งเปรียบได้กับกระบวนการลงรหัสแบบ Open Coding ในการวิจัยทฤษฎีฐานราก[3]
2. การใช้งานระดับมโนทัศน์ (Conceptual Level Work) เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่สร้างขึ้นจากการลงรหัสในระดับข้อความ มาสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กล่าวคือ เป็นการนำเอารหัสหรือมโนทัศน์ที่สร้างไว้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กันโดยร่างออกมาเป็นแผนภาพกรอบแนวคิด (Conceptual Diagram) การทำงานในระดับนี้เทียบเคียงได้กับกระบวนการลงรหัสแบบ Axial Coding และ Selective Coding ในการวิจัยทฤษฎีฐานราก
3. การใช้งานระดับการจัดการ (Organization Level Work) เป็นการทำงานที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจาก ATLAS/ ti เป็นโปรแกรมที่สนับสนุนการใช้งานแบบเป็นทีม ดังนั้นการทำงานในระดับนี้ก็คือการจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ในโครงการวิจัยเดียวกันที่อาจจะมีหลายคน รวมทั้งการรวมไฟล์ข้อมูลที่มอบหมายให้แต่ละคนในทีมผู้วิจัยไปวิเคราะห์[4]
[3] ไพรศิลป์ ปินทะนา. คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อความ (STAfS) และโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ATLAS.ti)
[1] การใช้โปรแกรม ATLAS/ti ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. สืบค้นจาก http://apa.sru.ac.th/research/aslas.doc.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)