Susanne Friese. User's Manual for ATLAS.ti 5.0 (Quick Tour), Revised Edition. Berlin, 2008.
ATLAS.ti 6 The New Features. Scientific Software Development GmbH, Berlin, September 2008.
คำชี้แจง
ความคิดที่จะแปล และเรียบเรียงเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม ATLAS.ti เบื้องต้นนี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในทางสังคมศาสตร์ ที่มีศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช และศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์เป็นผู้สอน และในรายวิชาดังกล่าวนี้ มีหัวข้อเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยได้มีการเชิญ ดร. ชูชาติ พ่วงสมจิตร์จากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาเป็นผู้บรรยายและให้ความรู้ แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ เพียงประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักโปรแกรมตัวนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และเป็นประโยชน์แก่ทุกคนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่คิดจะแปลงานชิ้นนี้ขึ้นมาก็คือ ความล้มเหลวในการหาคู่มือการใช้งาน ATLAS.ti ที่เป็นภาษาไทยจากอินเทอร์เน็ต แต่สิ่งที่ค้นได้จากสื่อออนไลน์นี้ ไม่ว่าจะเป็น powerpoint เกี่ยวกับ ATLAS.ti ของอาจารย์ท่านต่างๆ ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ไม่มีความรู้อย่างข้าพเจ้า และบางส่วนของงานเหล่านี้ ทั้งที่เป็นข้อความ และภาพประกอบก็ถูกข้าพเจ้านำมาใช้ในงานเรียบเรียงชิ้นนี้ ซึ่งการอ้างอิงอาจจะยังไม่ครบถ้วน และถูกต้องตามหลักวิชาการมากนัก ดังนั้น จึงต้องกราบขออภัยอาจารย์ทุกๆท่านที่เป็นเจ้าของงานและภาพต่างๆ ไว้ ณ ที่นี้ และหากมีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม ข้าพเจ้าก็ยินดีจะแก้ไขตามคำแนะนำต่อไป
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตั้งใจนี้ ยืนยันได้ว่า ไม่เคยมีความคิดในเชิงพาณิชย์แม้แต่น้อย หากแต่เป็นการตอบสนองความดึงดัน และตัณหาที่อยากจะแปลสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะเอากลับไปไว้ในสื่อออนไลน์อีกครั้ง เพื่อแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าอ่อนแอมาก กอปรกับความไม่คุ้นเคยกับการใช้งานโปรแกรมนี้มาก่อน เชื่อได้ว่ามีความผิดพลาดมากมายในงานชิ้นนี้ ดังนั้น การนำไปเผยแพร่ ก็หวังไว้ว่า จะมีผู้รู้ได้เข้ามาช่วยแก้ไข ปรับปรุง เพื่อบุคคลที่นำไปใช้จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และด้วยความคิดของข้าพเจ้าที่ว่า ถ้าใครรู้ว่าส่วนนี้ผิด ก็แสดงว่า เขาย่อมรู้ว่า สิ่งที่ถูกคืออะไร อย่างน้อยความผิดพลาดนี้ ก็จะถูกบอกออกไป และจะได้ไม่มีผู้ผิดพลาดซ้ำรอยข้าพเจ้าอีก ก็เท่านี้จริงๆ
Patoo in the mist
โปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ATLAS/ti “Archiv fuer Technik, Lebenswelt und Alltagssprache“
ATLAS/ti เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Computer Assisted Qualitative Data Analysis Software/ CAQDAS) ที่สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความตัวอักษร (Text) ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ (Graphic) ข้อมูลที่อยู่ในรูปเสียง (Sound) รวมทั้งข้อมูลที่เป็นวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว สามารถช่วยในการสร้างและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างรหัส (codes) ต่างๆ ผ่านทาง Network view สามารถใส่ข้อความให้กับตัวเลือกสำหรับการบันทึก (Memoing) การตั้งข้อสังเกต (Commenting)และการบันทึกสรุป (Memos) อีกทั้งยังสามารถใช้งานกับภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ โดยสามารถประมวลผลข้อมูลและเอกสารที่เป็นภาษาไทย และสามารถตั้งชื่อรหัส (Codes) เป็นภาษาไทยความยาวท่าไรก็ได้
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจะช่วยลดเวลาและทุนแรงนักวิจัยอย่างมาก ช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากให้อยู่ในรูปที่ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องเน้นย้ำไว้และทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเบื้องต้นก็คือว่า ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คอมพิวเตอร์ที่นำมาไม่ใช่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แต่นำมาเพื่อ ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ไม่สามารถวิเคราะห์และตีความหมายของข้อความตัวอักษรแทนผู้วิจัยได้ ผู้วิจัยยังคงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล[1]
ซึ่งสอดคล้องกับสมโภชน์ อเนกสุข ที่เห็นว่าการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จะต่างกับวิธีการเชิงปริมาณ เพราะโปรแกรมเป็นเพียงสิ่งที่ช่วยให้นักวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกขึ้น แต่การสร้างข้อสรุปที่เป็นคำตอบของปัญหาการวิจัยจะมีคุณค่าเพียงใดขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูลที่ได้รับ ประกอบเข้ากับความรู้ความสามารถและความลึกซึ้งในประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น[2]
ระดับของการใช้งานโปรแกรม ATLAS/ti
ลักษณะการใช้โปรแกรม ATLAS/ti แบ่งได้เป็น 3 ระดับใหญ่คือ
1. การใช้งานระดับข้อความ (Textual Level Work ) เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อความเป็นส่วนใหญ่ โดยการนำข้อมูลที่อาจเป็นข้อความ รูปภาพ เสียงมาแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ (Text Segments) ที่มีความสำคัญ และนำมาจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ ตีความ และทำความเข้าใจ ซึ่งก็คือกระบวนการลงรหัส (Code and Text Retrieve) การพิมพ์ผลการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้เขียนรายงานผลการวิจัย การทำงานในระดับนี้ก็คือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Microanalysis เป็นการวิเคราะห์ที่อ่านและตีความหมายข้อความบรรทัดต่อบรรทัด เพื่อสร้างรหัสหรือมโนทัศน์เบื้องต้นจากข้อมูล ซึ่งเปรียบได้กับกระบวนการลงรหัสแบบ Open Coding ในการวิจัยทฤษฎีฐานราก[3]
ลักษณะการใช้โปรแกรม ATLAS/ti แบ่งได้เป็น 3 ระดับใหญ่คือ
1. การใช้งานระดับข้อความ (Textual Level Work ) เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อความเป็นส่วนใหญ่ โดยการนำข้อมูลที่อาจเป็นข้อความ รูปภาพ เสียงมาแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ (Text Segments) ที่มีความสำคัญ และนำมาจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ ตีความ และทำความเข้าใจ ซึ่งก็คือกระบวนการลงรหัส (Code and Text Retrieve) การพิมพ์ผลการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้เขียนรายงานผลการวิจัย การทำงานในระดับนี้ก็คือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Microanalysis เป็นการวิเคราะห์ที่อ่านและตีความหมายข้อความบรรทัดต่อบรรทัด เพื่อสร้างรหัสหรือมโนทัศน์เบื้องต้นจากข้อมูล ซึ่งเปรียบได้กับกระบวนการลงรหัสแบบ Open Coding ในการวิจัยทฤษฎีฐานราก[3]
2. การใช้งานระดับมโนทัศน์ (Conceptual Level Work) เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่สร้างขึ้นจากการลงรหัสในระดับข้อความ มาสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กล่าวคือ เป็นการนำเอารหัสหรือมโนทัศน์ที่สร้างไว้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กันโดยร่างออกมาเป็นแผนภาพกรอบแนวคิด (Conceptual Diagram) การทำงานในระดับนี้เทียบเคียงได้กับกระบวนการลงรหัสแบบ Axial Coding และ Selective Coding ในการวิจัยทฤษฎีฐานราก
3. การใช้งานระดับการจัดการ (Organization Level Work) เป็นการทำงานที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจาก ATLAS/ ti เป็นโปรแกรมที่สนับสนุนการใช้งานแบบเป็นทีม ดังนั้นการทำงานในระดับนี้ก็คือการจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ในโครงการวิจัยเดียวกันที่อาจจะมีหลายคน รวมทั้งการรวมไฟล์ข้อมูลที่มอบหมายให้แต่ละคนในทีมผู้วิจัยไปวิเคราะห์[4]
[3] ไพรศิลป์ ปินทะนา. คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อความ (STAfS) และโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ATLAS.ti)
[1] การใช้โปรแกรม ATLAS/ti ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. สืบค้นจาก http://apa.sru.ac.th/research/aslas.doc.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น